การทำ Personal Brand ทำได้หลายวิธี จนบางครั้งทำให้เราเกิดความ FOMO
โน่นก็อยากทำ นี่ก็อยากทำ คืออยากทำไปหมดทุกอย่าง โดยที่ลืมไปว่า Resource เรามีจำกัด และเราไม่ได้จะทำ Personal Brand เพื่อเป็น Content Creator หรือจะเป็น influencer แบบ Full-time
บทความนี้โบเลยอยากจะมาแชร์ Personal Branding Strategy แต่ละอย่าง พร้อมให้เรทติ้ง เพื่อให้คุณเลือก personal branding strategy ที่เหมาะกับตัวเอง ได้ impact ในแบบที่เป็นตัวเอง
เป็น Guest บนช่องทางคนอื่น
การทำ Personal Brand โดยใช้วิธีไปเป็น guest ให้กับรายการอื่น เพจอื่น เว็บอื่น เป็นวิธี “ยืม authority” คนอื่นมาใช้แบบเราไม่ต้องสร้างเอง ฟังดูดีแต่ก็ไม่เหมาะกับมือใหม่ ที่ไม่มีคนรู้จักเลย เพราะมันยากที่คนอื่นจะให้เราไปออกรายการเค้าในขณะที่เรายังไม่มี profile อะไรเป็นของตัวเอง
ถามว่าวิธีนี้เหมาะกับใคร? โบมองว่าเหมาะกับคนที่ทำธุรกิจ ทำงาน ประสบความสำเร็จมาบ้าง คือมีผลงานที่จับต้องได้อยู่แล้ว ถึงจะทำให้เรามี value ที่เค้าอยากจะเชิญไป
ข้อสังเกตคือต้องเลือก channel ที่เหมาะที่ส่งเสริม branding เราด้วย บางทีมีคนอยากเชิญเราไป แต่ว่า branding หรือ value ไม่ตรงกัน ก็อาจจะต้องกลั้นใจปฏิเสธไป เพราะอาจจะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี
Beginner Friendly: 1/5
Time to get Result: 3/5
Can be controlled: 1/5
Impact: 3/5
คะแนนเฉลี่ย: 2/5
ทำคอนเทนต์บน Social
การทำ content บน social เป็น 1 ใน personal branding strategy ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลย แต่โบเคยหลีกเลี่ยงมาตลอด 555 แต่พอได้มาลองทำจริงจัง พบว่าสนุก (และเวิร์คกว่าที่คิด) แถมยังช่วยให้ตัวเองพัฒนาด้านการทำ content มาได้เยอะมากๆ
ข้อดีของการทำ social คือ
- ได้ฟีดแบ็คเร็ว ทำวันนี้ พรุ่งนี้รู้แล้วนะ ว่าที่ทำไปดีหรือแป้ก
- บังคับให้เราทำบ่อยๆ พอทำบ่อยก็เก่งขึ้นเร็วกว่านานๆ ทำที
- พอมีคอนเทนต์เยอะ ก็สามารถนำไป repurpose ได้เยอะ
- ได้ Connect กับคนอื่นในช่องทางนั้นๆ
แต่สิ่งที่เป็นจุดด้อยคือ
- เราต้อง show up ตลอดๆ แต่ก็สามารถพอจะเลือกความสม่ำเสมอที่เหมาะกับตัวเองได้แหล่ะ (ซึ่งแล้วแต่ channel ด้วย)
- Algorithm ที่ปรับเปลี่ยนตลอดไม่เกรงใจใคร ซึ่งเราควบคุมไม่ได้ นอกจากก้มหน้าก้มตาปรับคอนเทนต์ให้มันดีขึ้น คนอยากเสพย์มากขึ้น
ถ้าใครเลือกช่องทางนี้ ขอเชียร์ให้เลือกแค่ 1 social media ก่อน อย่าไปทำทั้งหมด เพราะแต่ละ social ก็มีเทคนิค behavior ของคนใช้ที่แตกต่างกัน ให้ master ช่องนึงก่อนแล้วค่อยขยับขยาย
Beginner Friendly: 4/5
Time to get Result: 4/5
Can be controlled: 4/5
Impact: 4/5
คะแนนเฉลี่ย: 4/5
สร้าง Personal Website
ขึ้นหัวข้อมาว่า Personal Website หลายคนอาจจะสงสัยว่า มันจำเป็นด้วยหรอในการทำ Personal Brand? (หรือมันเป็น 1 ใน Personal Brand Strategy ด้วยหรอ?)
ลองถามตัวเองดู ถ้าคุณเพิ่งไปรู้จักคนคนนึงมา เราก็คงอยากจะ “ส่อง” กว่าคนคนนี้เป็นใคร ทำงานอะไร เรียนจบที่ไหน มีความรู้สึกนึกคิดอะไรยังไง
ซึ่งคนทั่วไปเวลาเรา search ก็จะเจอ Linkedin, Instagram, Facebook หรือเรื่องที่เขาลงในเว็บอื่นๆ น้อยคนที่จะมีเว็บส่วนตัว (ยังไม่นับเว็บส่วนตัวที่ทำมาดี มีข้อมูลครบๆ) ซึ่งถ้าใครมีก็คือได้ First Impression ดีๆ ไปเต็มๆ
การที่เรามีเว็บไซต์ส่วนตัว ข้อดีคือ:
- เว็บไซต์เราเอง เราควบคุมได้ทุกอย่าง
- เป็นที่รวบรวมข้อมูลทั้งหมดของเรา (เท่าที่เราอยากบอก)
- เอาไว้ต่อยอดเก็บคอนเทนต์ หรือทำบทความ SEO ต่อไป
- แสดงให้เห็นว่าเราจริงจัง อย่างน้อยก็สร้างเว็บไซต์เป็น! (แม้เดี๋ยวนี้ทำเว็บจะไม่ยากแล้วก็ตาม)
แต่ถามว่าจำเป็นไหม มันไม่ได้จำเป็นขนาดนั้น แถมถ้าทำเว็บเดี่ยวๆ ไม่ได้ทำคอนเทนต์ คนก็อาจจะไม่ได้มาเจอเรา search engine หรอก (นอกจากเขาจะ search ด้วยชื่อเรา อันนี้คือต้องเจอนะ)
สำหรับใครที่สนใจทำเว็บไซต์ส่วนตัว เดี๋ยวนี้ก็มีตัวเลือกเยอะแยะมากมาย ไม่ว่าจะเป็น WordPress.com, Webflow, Squarespace, Ghost เอาเป็นว่าแนะนำว่าให้ไปจด domain ชื่อเว็บไซต์และ setup เว็บแบบ basic ขึ้นมาก่อน แล้วจะทำอะไรต่อค่อยว่ากัน
Tip: อ่านวิธีสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเองแบบ step by step ด้วย WordPress
Beginner Friendly: 3/5
Time to get Result: 2/5
Can be controlled: 4.5/5
Impact: 3.5/5
คะแนนเฉลี่ย: 3.25/5
เขียน SEO Content
โบเองแต่ก่อนโบเน้นการเขียน SEO content เป็น Personal Brand Strategy หลักเลย ซึ่งก็ต้องบอกว่ามัน paid off เพราะการทำ SEO เป็น long term strategy ที่คนที่อยากทำ Personal Brand น้อยคนจะสนใจทำ
ข้อดีของการเขียนบทความ SEO คือ
- สร้างความน่าเชื่อถือ คือถ้าเราจะลงมือเขียนเรื่องอะไรได้เป็นเรื่องเป็นราว แสดงว่าเราก็ต้องมีความรู้เรื่องนั้นอยู่บ้างแหล่ะ
- เป็น long term investment คือบทความที่เราเขียน ถ้าตั้งค่า SEO หรือเขียนแล้วตอบโจทย์คนอ่าน ก็จะทำให้เราติดอันดับบน google ทีนี้ผ่านไปนานเท่าไหร่ คนก็จะยังมาเจอเราจากบทความนั้นอยู่เรื่อยๆ (แต่ก็ต้องมีการปรับแต่ง SEO อยู่เสมอด้วย)
- การเขียนบทความช่วยให้เราเรียบเรียงความคิดได้ดี
สิ่งที่ยากในการทำ Personal Branding SEO Content คือ
- เขียนให้ตอบโจทย์ คนอ่านได้ประโยชน์
- เขียนให้อ่านง่าย อ่านสนุก มีสไตล์
- เขียนให้ติด SEO!
แนะนำว่าให้เริ่มจากเป้าหมายที่เขียนให้คนอ่านจริงๆ ส่วนเรื่อง SEO แค่เราศึกษาเทคนิคแล้วใส่เข้าไปเสริมก็พอ เพราะมองว่าต่อไปบทความที่ดี คือบทความที่ uniqe ที่แชร์จากประสบการณ์ตรงของเราเอง ส่วนเรื่อง technical SEO ค่อยตามมาได้
Beginner Friendly: 2/5
Time to get Result: 1/5
Can be controlled: 5/5
Impact: 5/5
คะแนนเฉลี่ย: 3.25/5
Email List Building
อีเมลคือ asset ที่แท้จริงของเรา เพราะไม่ว่า social จะเปลี่ยนไปแค่ไหน ถ้าเรามีรายชื่ออีเมลของคนที่ติดตามเรา ยังไงเรายังมีช่องทางในการที่จะติดต่อสื่อสารกับเค้าได้ เพราะเป็นช่องทางที่เราควบคุมได้เกือบจะ 100%
Email List นั้น powerful มากๆ อย่าง list ของโบเองมีอีเมลอยู่หลักพัน แต่ open rate เฉลี่ยอยู่ที่ 50% แปลว่าทุกครั้งที่ส่งอีเมลไป 100 คน จะมีคนเปิดอ่าน 50 คน ซึ่งเป็น rate ที่เราหาไม่ได้จากบน Social (นอกจากจะเป็น viral content)
แต่สิ่งที่เป็นจุดด้อยคือ
- เริ่มต้นได้ไม่ง่าย ต้องมีการติดตั้ง ตั้งค่า softweare รวมถึงควรที่จะมี website เป็นของตัวเอง หรืออย่างน้อยต้องมี landing page เพื่อแปะแบบฟอร์ม
- บางคนเก็บอีเมลมาได้บ้าง แต่ก็อาจจะติดว่าไม่รู้จะส่งอะไร ก็เสียโอกาสที่จะได้สร้าง relationship กับผู้ติดตามของตัวเอง
แม้จะมีข้อจำกัด ไม่ได้ง่าย ตอนแรกอาจจะงงๆ แต่ก็เชียร์ให้คนที่ทำเว็บไซต์แล้ว เริ่มเขียนบทความบนเว็บแล้ว ให้เริ่มเก็บอีเมลเอาไว้เลย ยังไงในอนาคตมีประโยชน์แน่นอน
Beginner Friendly: 1/5
Time to get Result: 2/5
Can be controlled: 5/5
Impact: 4/5
คะแนนเฉลี่ย: 3/5
Public Speaking
การทำ public speaking เป็น personal branding strategy ที่ช่วยทำให้เราเป็นที่รู้จักในอุตสาหกรรมที่เราอยู่ได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับโบเองเมื่อตอนที่ทำ startup เป็น designer และทำ inbound marketing agency ก็ได้รับโอกาสไปพูด public speaking บนเวทีต่างๆ ซึ่งช่วยสร้าง authority ได้เยอะมากๆ
แต่แน่นอนว่าก็เหมาะกับคนที่มีผลงาน ทำอะไรที่มีหลักมีฐานมาบ้างแล้ว ซึ่งคนที่เพิ่งอาจจะข้ามตรงนี้ไปก่อน ไปสร้าง profile ของตัวเองให้แน่นๆ แล้วค่อย approach ไปหาเวทีที่เราสนใจก็ยังไม่สาย
Beginner Friendly: 1/5
Time to get Result: 3/5
Can be controlled: 3/5
Impact: 4/5
คะแนนเฉลี่ย: 2.75/5
การจัด Event สั้นๆ ของตัวเอง
เราจะเริ่มเห็นคนที่ทำ personal brand จัด event กันเยอะขึ้นเรื่อยๆ ทั้งแบบ online, offline แบบฟรี หรือเก็บเงินซึ่งทำได้หลากหลายรูปแบบ เช่น webinar, live บน social, จัด workshop, meetup
ถ้าเป็นสาย content creator / influencer เราก็จะเห็นจัดกันในรูปแบบ fan meet
เหตุผลที่การจัด event เข้ามาเป็น 1 ใน personal brand strategy เพราะว่า
- เราควบคุมได้ว่าจะทำเรื่องอะไร
- เราเป็นจัด event เอง ได้ authority เต็มๆ แบบไม่ได้ต้องพึ่งคนอื่น
- เป็นการเปิดโอกาสให้คนที่ติดตามเรา ได้สัมผัสความเป็นตัวตนเราจริงๆ
แต่ก็ต้องบอกว่าการจัด event ของตัวเองนี่น่าจะเป็น personal brand strategy ที่ยากที่สุดอันนึง ที่มือใหม่อาจจะผ่านไปก่อน
แต่ถ้าสะสมความรู้ความสามารถ มีคนติดตาม มีเรื่องที่คนอยากฟัง การจัด Event ของตัวเอง จะเป็นการทำให้เราสร้าง authority ได้ดีมากๆ
Beginner Friendly: 1/5
Time to get Result: 4/5
Can be controlled: 4/5
Impact: 5/5
คะแนนเฉลี่ย: 3.5/5
เลือก Personal Brand Strategy ไหนบ้างดี?
อย่างที่โบเขียนไว้ด้านบน Personal Branding แต่ละ strategy นั้นมีจุดเด่นจุดด้อย แต่ไม่ใช่เราต้องทำทุก strategy เพราะไม่ใช่ทุก startegy จะเหมาะกับเรา
- บาง Strategy เหมาะกับคนที่เพิ่งเริ่มต้น ยังไม่มีคนรู้จักเยอะ ทดลองผิดถูกได้
- บาง Strategy เหมาะกับคนที่มีเวลาน้อย ต้องการ impact แบบเร็วๆ แต่ผลอาจจะอยู่ไม่นาน
- บาง Strategy เหมาะกับคนถนัดเรื่อง technical
อย่างโบเองเคยเริ่มด้วยการทำเว็บ และเขียนบล็อก SEO เมื่อ 10 ปีก่อน พร้อมกับเก็บอีเมล โดยมี Facebook เป็น social ที่เอาไว้แชร์บล็อกโพสต์เฉยๆ 2-3 ปีหลังก็เริ่มโฟกัสที่ Twitter ตอนนี้กำลังจะโฟกัสที่ Instagram โดยมี backbone เป็นการเก็บ Email list
จะเห็นว่าโบไม่ได้ทำทีหลายอย่างๆ โดยเฉพาะอย่างเรื่อง publish speaking นี้ไม่ได้ active หาเลย เพราะตอนนี้เปลี่ยนสายจากเดิมเป็น Designer, Startup, Marketing Agency Owner มาเป็น Online Solo Preneur เต็มตัว
ฉะนั้น หากให้โบแนะนำ สำหรับผู้เริ่มต้น อยากให้เลือกแค่ 1-2 strategies ก่อน เมื่อ master ใน strategy นั้นแล้ว ก็ค่อยขยับขยายก็ยังไม่สาย 🙂